บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2020

ภัยเงียบที่คุกคามคนไทย ไวรัสตับอักเสบซี

รูปภาพ
ภัยเงียบที่คุกคามคนไทย ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นกลุ่มเชื้อไวรัสที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนเราแล้วจะพุ่งตรงไปยึดพื้นที่บริเวณตับของเราไว้ ความน่ากลัวของ ไวรัสตับอักเสบซี นี้ คือ ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรคได้ และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคตับแข็ง และมะเร็งตับด้วย ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่ หากซักประวัติแล้วจะพบว่ามีการ ติดเชื้อทางเลือด ไม่ว่าจะเป็นการรับเลือดจากการผ่าตัดใหญ่ การรักษาโรค การเสียเลือดจากอุบัติเหตุ หรือมีโรคประจำตัวที่ต้องรับเลือดจากผู้อื่น เป็นต้น เนื่องจากสมัยก่อน ในประเทศไทยยังไม่มีการ ตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับ อักเสบซี ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ติดเชื้อนี้ ได้แก่ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นในกลุ่มผู้เสพสารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคนโดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย และยังสามารถติดต่อได้จากแม่สู่ลูกได้ด้วย แต่ก็พบได้น้อยมาก เพราะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะตรวจ โรค ไวรัสตับอักเสบซี ก่อนอยู่แล้ว ไวรัสตับอักเสบซี มีอยู่ทั่วโลกทั้งหมด 7 สายพันธุ์ด้วยกัน แต่ในประเทศไทยมักพบแค่ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ที่ 1, 3, และ 6 ซึ่งมีความยากง่

กลุ่มเสี่ยงต่อไวรัสตับอักเสบซี และอาการที่สังเกตได้

รูปภาพ
กลุ่มเสี่ยงต่อไวรัสตับอักเสบซี และอาการที่สังเกตได้ ไวรัสตับอักเสบซี ทั่วโลก ณ ปัจจุบัน พบว่ามีอยู่ 6 สายพันธุ์ ด้วยกัน โดยกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้ คือ เด็กทารกที่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ที่มีเชื้ออยู่ก่อนแล้ว อาจจะไม่ทราบหรือไม่ได้รับการ ตรวจคัดกรอง ในตอนที่วางแผนมีบุตร หรือตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ จึงไม่ทราบว่าตนเองมีไวรัสตับอักเสบซี แต่ปัจจุบันสามารถพบได้น้อยลงเพราะแพทย์มักจะสั่งตรวจคัดกรองก่อนเสมอ / คนที่เคยได้รับเลือดที่ไม่ผ่านการคัดกรองมาก่อน / คนที่เคยเจาะหรือสักจากร้านที่ไม่ได้มาตรฐานอนามัย / คนที่ใช้สารเสพติดประเภทฉีดเข้าเส้นหรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น / คนที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ ถุงยางอนามัย โรคไวรัสตับอักเสบซี อาการของ ไวรัสตับอักเสบซี อาจไม่แสดงออกให้เห็นทันที หากเข้าข่าย โรคตับแข็ง อาจทำให้ท้องโต ขาบวม ตัวเหลือง ตาเหลืองได้ หากเข้าข่าย โรคตับอักเสบเรื้อรัง จะตรวจพบได้จากการทำงานของตับที่ผิดปกติ มีอาการอักเสบของตับ หากเข้าข่าย โรค ตับอักเสบเฉียบพลัน จะมีอาการอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง อยากนอนหลับอยู่ตลอดเวลา หรือรู้สึกคลื่นไส้ อ

ใครบ้างที่ควรได้รับการรักษาไวรัสตับอักเสบซี?

รูปภาพ
ใครบ้างที่ควรได้รับการรักษาไวรัสตับอักเสบซี? ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่ควรได้รับการรักษา โดยไล่เรียงเป็นอันดับแรกที่ควรได้ รับการรักษาโดยด่วน ไปจนถึงลำดับน้อยที่สุด ดังนี้ ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ที่มีภาวะตับแข็งร่วมด้วย หรือในกรณีที่เป็นโรคตับแข็งที่มีอาการค่อนข้างมากแล้ว ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ที่มีพังผืดในเนื้อตับระดับสูง ตามระบบ METAVIR เท่ากับ 3 หรือวิธีการตรวจอื่นที่เทียบเท่า ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ที่มีเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วย ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ที่มีข้อบ่งชี้ในการปลูกถ่ายตับ ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ที่มีการกลับมาเป็นซ้ำของโรคไวรัสตับอักเสบซี ภายหลังจากได้รับการปลูกถ่ายตับ ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ที่มีลักษณะทางคลินิกอื่นๆ นอกตับที่มีความรุนแรง ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ที่มีพังผืดในเนื้อตับระดับสูง ตามระบบ METAVIR เท่ากับ 2 หรือวิธีการตรวจอื่นที่เทียบเท่า ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ที่มีแนวโน้มจะถ่ายทอดเชื้อไปสู่ผู้อื่น เช่น คุณแม่ที่กำลังวางแผนการ

คำแนะนำในการรักษาไวรัสตับอักเสบซี

รูปภาพ
คำแนะนำในการรักษาไวรัสตับอักเสบซี ผู้ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซี ในช่วงที่กำลังรักษาโรคอยู่ หรือหากหายขาดจากโรคไวรัสตับอักเสบซีแล้ว ก็ควรมีการดูแลตัวเองที่ดีอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ร่างกายเจ็บป่วย และอาจก่อให้เกิดโรคไม่พึงประสงค์ตามมาอีกหรือมี อาการกำเริบของโรค เพิ่มเติม วันนี้ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝาก ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หากรู้ตัวว่ามีเชื้ออยู่ ควร งดบริจาคเลือด โดยเด็ดขาด เพราะเชื้อนี้สามารถส่งต่อกันได้ผ่านการรับเลือด ควรแยกของใช้ส่วนตัวออกจากบุคคลในครอบครัว ในกรณีที่ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซียังใช้สารเสพติดอยู่ หากเลิกไม่ได้ ควรงดใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น งดการสักหรือเจาะตามร่างกาย หรือเลือกใช้บริการจากร้านที่มีมาตรฐาน มีการฆ่าเชื้ออุปกรณ์เป็นอย่างดี หรือใช้อุปกรณ์ให้การสักหรือเจาะร่างกายแบบใช้แล้วทิ้ง งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อ ลดการทำร้ายตับ เนื่องจากมีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอยู่แล้ว ความรุนแรงในการเกิดโรคตับแข็งอาจเพิ่มขึ้นได้เร็วกว่าคนปกติ ไม่ควรทานอาหารเสริมหรือสมุนไพรอื่นๆ นอกเหนือจากยารักษาไวรัสตับอักเสบซี เพราะไม่อาจรู้ถึงส่วนประกอบของสิ่งเห

เราจะต้าน โรคไวรัสตับอักเสบซี ได้อย่างไร ?

รูปภาพ
เราจะต้าน โรคไวรัสตับอักเสบซี ได้อย่างไร ? แม้ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับสร้างภูมิคุ้มกันในการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซี ได้ แต่เราสามารถต้าน โรคไวรัสตับอักเสบซี ได้ด้วยการป้องกันตัวเองเบื้องต้น หรือหลีกเลี่ยง ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ดังต่อไปนี้ ไวรัสตับอักเสบซี สามารถติดต่อผ่านได้ทางเลือด เพราะฉะนั้นหากคุณมีประวัติการรับเลือดที่ไม่ได้ผ่านการคัดกรองที่มีมาตรฐานมาก่อน ควรรีบตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซีโดยเร็ว ไวรัสตับอักเสบซี สามารถติดต่อผ่านได้ทางการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ไม่ใช้ถุงยางอนามัย แต่หากคุณไม่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ก็ลดความเสี่ยงนี้ลงไปได้มาก หรือในกรณีแฟนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอยู่แล้ว ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ตามปกติ เพียงแต่ระมัดระวังและป้องกันเสมอ ไวรัสตับอักเสบซี สามารถติดต่อผ่านได้ทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ในกรณีที่คุณเสพสารเสพติด ควรหลีกเลี่ยงและตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสเอชไอวี และโรคติดต่ออื่นๆ ด้วย หากคุณมีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอยู่แล้ว หลังจากการรักษา ควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะ สุขภ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซี

รูปภาพ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซี ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีหลังจากทำการรักษาจนไวรัสลดต่ำลงมากแล้ว หรืออยู่ในสถานะที่ ตรวจไม่พบเชื้อ ควรดูแลรักษาตัวเองอย่างต่อเนื่อง และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบซีเพิ่มเติม หรืออัพเดทความรู้อยู่เสมอ หากมีอะไรจะได้บอกกล่าวคนในครอบครัวหรือบุคคลใกล้เคียงที่อาจมีความเสี่ยงติด เชื้อไวรัสตับอักเสบซี ผู้ที่มีเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซี ควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะไม่ส่งผลดีต่อตับและสุขภาพในระยะยาว เพราะผู้ป่วยมีโรคตับอักเสบอยู่ก่อนแล้ว หากยังไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ และ ไวรัสตับอักเสบบี ควรจัดการฉีดเสียให้เรียบร้อย เพราะผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีแนวโน้มในการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ และมีการดำเนินโรคที่รุนแรงหากติดเชื้ออื่นเพิ่ม ในส่วนของผู้ป่วยที่มี โรคอ้วนลงพุง ร่วมด้วย มักมีอาการของโรคตับลุกลามค่อนข้างเร็วขึ้น ควรปฏิบัติตนเพื่อลดภาวะดังกล่าวด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ควรพบแพทย์ โรคระบบทางเดินอาหาร และตับอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 3-6 เดือน เพื

เป้าหมายของการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี

รูปภาพ
เป้าหมายของการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี หลักสำคัญที่แพทย์ในปัจจุบันจะคำนึงถึงใน การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี คือ ต้องการให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรค เชื้อไวรัสตับอักเสบซีลดลงเหลือน้อยมากหรือแทบตรวจไม่เจอ ไม่กลับมามีผลต่อร่างกายอีกภายหลังจากการหยุดยาหรือวินิจฉัยว่าจบกระบวนการรักษาแล้วนั่นเอง การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ยังมีประโยชน์ในการลดอาการอักเสบของตับลง ลดความเสี่ยงในการเกิด ภาวะตับแข็ง และตับวาย ตลอดจนลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ ภายในอนาคตอีกด้วย เพราะถึงแม้จะยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซี แต่เราก็พัฒนายารักษาไวรัสตับอักเสบซีไปได้มาก ช่วย ลดอาการข้างเคียง จากการทานยา ดีกว่ายาแบบฉีดแต่ก่อนมากๆ และข้อมูลในการป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบซียังมีแพร่หลายในโลกออนไลน์ ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถทำความเข้าใจและป้องกันตัวเองไม่ได้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้มากขึ้น จำนวนผู้ป่วยจึงลดลง แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคม หรือเข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการรับเลือดโดยไม่จำเป็นหรือเลือกรับเลือดจากโรงพยาบาลที่มี การคัดกรองเชื้อ ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น แต่คู่สมรสที่มีเชื้อไวรัส

การตรวจไวรัสตับอักเสบซี

รูปภาพ
การตรวจไวรัสตับอักเสบซี โรคไวรัสตับอักเสบซี หรือภาษาอังกฤษว่า Hepatitis C virus นั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคตับอักเสบชนิดเฉียบพลันและโรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง อ้างอิงตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ปี พ.ศ.2560 พบว่ามีผู้ป่วยโรค ไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง ประมาณ 71 ล้านคนทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ ประมาณ 4 แสนรายต่อปี ไวรัสตับอักเสบซี สามารถติดต่อผ่านทางการรับเลือด ผ่านจากแม่สู่ลูก และผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน โดยผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีประมาณ 55-85% ที่ไม่ได้ทำการรักษา จะพัฒนาไปเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็ง และ โรคมะเร็งตับ ได้ในอนาคต ปัจจุบัน ทางการแพทย์สามารถ ตรวจโรคไวรัสตับอักเสบซี ได้อย่างละเอียดขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งสามารถตรวจได้ว่า ไวรัสตับอักเสบซีนั้นเป็น สายพันธุ์ ย่อยสายพันธุ์ใด (มีจำนวน 6 สายพันธุ์) นอกจากนี้ ยังมีตัวยาต้านไวรัสตับอักเสบซีชนิดรับประทาน ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมด้วย ช่วยให้ผู้ติดเชื้อหายขาดจากโรคได้โดยมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่ายาฉีดแบบเก่า ดังนั้นการตรวจหาผู้ป่วยที่ติด เชื้อไวรัสตั

โรคไวรัสตับอักเสบซี เข้าสู่ร่างกายแล้วจะเป็นอย่างไร?

รูปภาพ
โรคไวรัสตับอักเสบซี เข้าสู่ร่างกายแล้วจะเป็นอย่างไร? โรคไวรัสตับอักเสบซี มีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี C โดยที่เชื้อนี้สามารถติดต่อกันได้ ผ่านช่องทางหลายช่องทาง เช่น การติดต่อผ่านทางเลือด การรับเลือด สารพันธุกรรม ผ่านทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกรณีที่ผู้ติดเชื้ออยู่ในกลุ่มผู้เสพสารเสพติด หรือผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ที่ ไม่ได้สวมถุงยางอนามัย เป็นต้น ในประเทศไทยเราพบว่า ค่าเฉลี่ยของประชากรทั้งหมด ประมาณร้อยละ 1-2 จะมีผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีนี้ และพบได้มากทางในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อ ไวรัสตับอักเสบซี ได้เข้าไปในร่างกายของคนเราแล้ว มันจะอาศัยอยู่ที่ตับ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการอะไรเลย แต่จะไปตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือจากการบริจาคเลือด ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี อาจจะมีการอักเสบของตับเล็กน้อย แต่อาการเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบซีนี้ จะทำให้เกิดพังผืดในตับ และนำไปสู่ภาวะตับแข็ง หรือมีโอกาสกลายเป็น โรคมะเร็งตับ ในที่สุด สนใจยารักษาไวรัสตับอักเสบซีติดต่อที่นี่ Line id: thaihcv