บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2019

ไวรัสตับอักเสบซีหายได้ ก็กลับมาเป็นอีกได้หากไม่ระวัง

รูปภาพ
ไวรัสตับอักเสบซีหายได้ ก็กลับมาเป็นอีกได้หากไม่ระวัง มีอดีตผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจำนวนหนึ่ง ที่เคยหายขาดจากโรคแล้ว คือมีจำนวน ไวรัสตับอักเสบซี อยู่ในร่างกายน้อยกว่า 20 Copy หรือเครื่องมือทางการแพทย์ไม่สามารถตรวจวัดได้ พวกเขาจึงชะล่าใจและกลับไปทำตัวตามปกติอีกครั้ง ผลสำรวจพบว่าผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ที่หายขาด แล้ว ประมาณ 2% มีโอกาสเข้าสู่ โรคมะเร็งตับ ได้ในภายหลัง ปัจจัยเกิดขึ้นจากหลายประการ ได้แก่ ในระหว่างที่ทำการรักษาไวรัสตับอักเสบซี ได้ลุกลามไปจนมี ภาวะตับแข็ง ร่วมด้วยอยู่ก่อนแล้ว หรือผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ก็มีโอกาสเสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็งตับได้มากกว่าคนอายุน้อยกว่าถึง 8 เท่า หรือในกรณีที่ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งร่วมด้วย ก็มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน เป็นต้น  ข้อมูลนี้สำคัญมาก เพราะผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีไม่สามารถกำจัดไวรัสออกไปได้จนหมดสิ้นอยู่แล้ว เพียงแต่ไวรัสตับอักเสบซีจำนวนน้อย ที่ทางการแพทย์เรียกว่าหายขาดนั้น จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเท่านั้นเอง หากผู้ป่วยกลับไป ใช้ชีวิตตามปกติ ไม่ดูแ

ดูแลตัวเองยังไงเมื่อป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี

รูปภาพ
ดูแลตัวเองยังไงเมื่อป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าเจ้า โรคไวรัสตับอักเสบซี ไม่ได้ติดต่อกันง่ายดายอย่างที่หลายคนเข้าใจผิดกันในปัจจุบัน เพียงแต่ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีควรมีความระมัดระวังมากกว่าปกติ เกี่ยวกับ เลือด หรือสารคัดหลั่งของตนเป็นสำคัญ ผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีควรงดบริจาคเลือดและส่วนประกอบใดๆ ก็ตามของร่างกาย เพราะปัจจุบันได้มีการ ตรวจคัดกรอง เพื่อหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซีก่อนเสมอ หากสถานพยาบาลนั้นๆ พบว่าคุณมีเชื้อ ก็อาจทำให้เสียเวลาทั้งตัวคุณเองและเจ้าหน้าที่ได้ ถึงแม้คุณจะตั้งใจทำด้วย เจตนาที่ดี แต่หากเลือดของคุณยังมีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีก็อาจสร้างปัญหาให้แก่ผู้รับเลือดได้ ควรงดการสักหรือเจาะตามร่างกาย แยกของใช้ ของส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ เข็มฉีดยา ออกจากผู้อื่น เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดของมัน ของทอด ของหวาน อาหารรสจัด (เค็มจัด หวานจัด เผ็ดจัด) อาหารหมักดอง หรือวิตามิน สมุนไพรบางชนิด งดการดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้น การทำงานของตับ ให้ทำงานหนัก และเกิดอาการอักเสบเร็วขึ้นได้ ควร

ไวรัสตับอักเสบซีที่มีภาวะไขมันพอกตับร่วม

รูปภาพ
ไวรัสตับอักเสบซีที่มีภาวะไขมันพอกตับร่วม มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซี จำนวนมาก ที่มักจะตรวจพบว่ามีภาวะไขมันพอกตับร่วมด้วย ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายของผู้ติดเชื้อไม่สามารถนำไขมันที่เรารับประทานเข้าไป ออกมาใช้งานให้หมด จึงสะสมเป็นไขมันในรูปของ ไตรกลีเซอไรด์ ในตับนั่นเอง สัญญาณเตือน ที่อาจบ่งชี้ว่าตับของคุณเริ่มมีปัญหา จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี จนเข้าสู่ภาวะไขมันพอกตับ มีดังนี้ เริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น มีพุง หรือไขมันส่วนเกิน ลดน้ำหนักยากกว่าคนอื่นหรือเพื่อนๆ ด้วยกัน ตรวจเช็คระดับคอเลสเตอรอลสูง ตรวจพบไตรกลีเซอไรด์ในเลือด มีค่าสูง ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานร่วมด้วยกับการติดเชื้อ รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง ทำงานไม่ได้ เจ็บตึงบริเวณชายโครงด้านขวาด้านบนอยู่บ่อยครั้ง มีอาการเบื่ออาหาร หรือคลื่นไส้ อาเจียนบ่อย หากมีอาการเหล่านี้ให้ รีบพบแพทย์   เพื่อวินิจฉัยภาวะไขมันพอกตับให้เร็วที่สุด  โดยผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี จะต้องทำการรักษาในส่วนของจำนวนไวรัสให้ลดลงเสียก่อนหรืออยู่ใน สภาวะที่หายขาด แล้ว จึงจะเริ่มรักษาภาวะไขมันพอกตับไปได้ แต่

รู้หรือไม่ ทำไม “ไวรัสตับอักเสบซี” คือภัยเงียบ

รูปภาพ
รู้หรือไม่ ทำไม “ไวรัสตับอักเสบซี” คือภัยเงียบ ลักษณะจำเพาะอย่างหนึ่งของ “โรคไวรัสตับอักเสบซี” กว่าที่คนไข้จะรู้ตัวว่าเป็นโรคได้ช้า ทำให้การรักษาเป็นไปได้ยาก ทั้งที่หากพบเร็วจะสามารถรักษาให้หายได้ง่าย #ไวรัสตับอักเสบซี เป็นสาเหตุสำคัญของ โรคตับแข็ง และ มะเร็งตับ ถือเป็นภัยเงียบที่ผู้ป่วยมักเข้ารับการรักษาก็ต่อเมื่อโรคลุกลามไปมากแล้ว เหตุผลหลักมาจากการที่โรคไวรัสตับอักเสบซีนั้นจะเข้าไปค่อยๆ ทำลายตับของผู้ป่วย ซึ่งตับสามารถทำงานทดแทนส่วนที่เสียหายได้ ผู้ป่วยส่วนมากจึงไม่รู้สึกถึงความผิดปกติใด ๆ แม้ตับจะถูกทำลายไปเกินกว่าครึ่งหนึ่งแล้วก็ตาม โดยอาจเริ่มแสดงอาการเมื่อตับถูกทำร้ายไปกว่า 80% เลยทีเดียว โดยมะเร็งตับ ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีอัตราการเสียชีวิตทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยในจำนวนที่สูงเป็นอันดับ 2 รองจาก โรคมะเร็งปอด เลยทีเดียว โดยสาเหตุหลักๆ ที่ก่อให้เกิดมะเร็งตับนั้นเกิดจากการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซี ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย และไม่รู้สึกอยากอาหาร ปวดท้องบริเวณด้านขวาตอนบน ท้องบวม มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจไม่ค่อยสะดวก จนมีภาวะ ตัวเหลือง ตาเหลือง