บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2019

ไขมันเกาะตับ สาเหตุหลักนำไปสู่ มะเร็งตับ

รูปภาพ
ไขมันเกาะตับ สาเหตุหลักนำไปสู่ มะเร็งตับ "ไขมันเกาะตับ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดของคนไทย  พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชายและพบเป็นอันดับ 3 ในเพศหญิง" การรักษาที่สำคัญและได้ประโยชน์มากในผู้ป่วย ไขมันคั่งสะสม ในตับ คือ การลดน้ำหนัก ในกรณีที่ผู้ป่วยอ้วน ซึ่งควรลดน้ำหนักโดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหารกล่าวคือ หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น นม เนย กะทิ ชีส กุ้ง ปูไข่ ไข่แดง ฯลฯ และเนื่องจาก ไตรกลีเซอรายด์ เป็นตัวสำคัญที่สะสมคั่งในตับ ควรพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารลงด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน มื้อเย็น ที่สำคัญควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะเป็นการลดน้ำหนักอย่างถูกสุขภาพ และเป็นการช่วยสลายไขมันออกจากตับได้ดี แต่พึงระวังว่าไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีการงดอาหาร และไม่ควรลดน้ำหนักเร็วเกินไป โดยทั่วไป แนะนำให้ลดน้ำหนักลงประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อเดือน เพราะการลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว โดยการงดอาหารอาจก่อให้เกิดอาการตับอักเสบอย่างรุนแรงได้  ควรรักษาควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวา

โรคไขมันคั่งสะสมในตับ

รูปภาพ
โรคไขมันคั่งสะสมในตับ คือภาวะที่มีการสะสมของไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ ไตรกลีเซอรายด์ อยู่ในเซลล์ของตับซึ่งอาจมีเพียงแค่ไขมันคั่งอยู่ในเซลล์ตับ หรือมีอาการอักเสบของตับร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้วจะมีสาเหตุต่างๆ มากมายที่สามารถทำให้เกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับได้ สาเหตุที่พบบ่อยคือจาก การดื่มสุรา การใช้ยาบางชนิด หรือสารพิษ, ภาวะขาดสารอาหาร ภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย (Wilson’s Disease) เป็นต้น แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ ที่ไม่ได้เกิดการจากดื่มสุรา ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า Non-Alcoholic Fatty Liver Disease ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการใดๆ ให้เห็นอย่างเด่นชัด หรือมักจะตรวจ พบโดยบังเอิญ จากการมาเจาะเลือดเช็คสุขภาพ ในบางรายอาจมีอาการปวดแน่นบริเวณ ใต้ชายโครงขวา ในบางรายอาจจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย เมื่อโรคตับเข้าสู่ระยะเวลาของโรคมากพอสมควรแล้ว การตรวจร่างกายผู้ป่วยมักจะพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติยกเว้นอาจจะพบว่าผู้ป่วยอาจจะอ้วน ซึ่งมักจะเป็นอ้วนแบบลงพุง และในกรณี ผู้ป่วยที่มีตับแข็ง แล้วก็อาจตรวจเจอลักษณะของโรคตับเรื้อรังหรือตับแข็งร่วมด้วย สนใจยารักษาไวรัส

จะรู้ได้อย่างไรว่า "สุขภาพตับ" เราเป็นอย่างไรบ้าง

รูปภาพ
จะรู้ได้อย่างไรว่า "สุขภาพตับ" เราเป็นอย่างไรบ้าง เป็นคำถามที่ทุกคนสงสัย แต่ไม่ค่อยหาคำตอบให้กับสุขภาพตับของตนเอง ปล่อยปละละเลยจนนำไปสู่การเป็น โรคไขมันพอกตับ หรือตับอักเสบประเภทอื่นๆ ดังนั้น การเช็คค่าต่างๆ จากเลือดสามารถบอกได้ความเป็นไปของโรคได้ในเบื้องต้น  ตอนไป ตรวจสุขภาพ มีค่าอะไรบ้าง เรามาเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจกันเลย LFT (Liver Function Test) คือ การตรวจการทำงานของตับ จะเป็นการตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือดที่บ่งชี้ความผิดปกติของการทำงานของตับนั่นเอง หากมีค่าเกินภาวะสมดุล แสดงว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับหรือ โรคตับอักเสบ ได้ ALT และ AST เป็นตัวบ่งชี้ค่าเอนไซม์พื้นฐานของตับ หากมีค่าที่สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน แปลว่าอาจอยู่ในภาวะตับอักเสบ Total protein = Albumin + Globulin เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการทำงานของตับในการผลิตโปรตีน Total Bilirubin และ Direct Bilirubin เป็นตัวบ่งชี้ปริมาณของเสียที่เกิดจากการตายของเม็ดเลือดแดง เพื่อบอกให้รู้ว่าเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของตับ ท่อน้ำดี หรือเม็ดเลือด Alkaline Phosphatase (ALP) และ Gamma Gl

ทำไมเราต้องสนใจตับ? ตับดีชีวิตดี ตับพังชีวิตดับ

รูปภาพ
ทำไมเราต้องสนใจตับ? ตับดีชีวิตดี ตับพังชีวิตดับ "ตับ" เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ตับของผู้ใหญ่จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5 กิโลกรัม โดยมีปริมาณเลือดในร่างกายทั้งหมดประมาณ 5,000 ซีซี. (5 ลิตร) จะไหลเวียนผ่านตับ 1 รอบใช้เวลาเพียง 4-5 นาทีเท่านั้น ซึ่งในแต่ละวันเลือดในร่างกายจะไหลผ่านตับถึง 360 รอบ คิดเป็นจำนวนเลือดที่ไหลผ่านมีปริมาณมากถึงวันละ 1,800 ลิตร (คิดเป็นน้ำหนักถึง 1.8 ตัน)ถ้าเปรียบตับเป็นโรงงานก็ต้องถือว่าเป็นโรงงานที่เปิดตลอด 24 ชม. เป็นโรงงานที่ทำงานหนักต่อเนื่องยาวนานเท่ากับอายุเราเลย "ตับ" เป็นทั้งอวัยวะแห่งการสร้าง การซ่อมแซม การควบคุม การเก็บกัก และการขับของเสียออกจากร่างกายเลยค่ะ จึงเป็นอวัยวะเราจำเป็นที่จะต้องเอาใจใส่ เพราะการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพแข็งแรงนั้น ต้องขึ้นอยู่กับสุขภาพของตับเป็นสำคัญ สารอาหารที่ย่อยแล้ว ถ้ามีปริมาณมากกว่าที่ร่างกายต้องการ ตับจะถือว่าเป็นสารพิษที่ต้องขับทิ้ง แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินกว่าที่ตับจะสามารถขับทิ้งได้หมด ตับก็จะเฉื่อยชาและเริ่มเสื่อมสภาพ สารพิษหรืออาหารเหล่านั้นก็จะแทรกตัวเข้ากระแสเลือดเข้าสู่

ดูแลตับให้แข็งแรงง่ายๆ ด้วยวิธีเหล่านี้

รูปภาพ
อยากมีตับที่แข็งแรง ดูแลตัวเองง่ายด้วยวิธีเหล่านี้ ☑ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ☑ รับประทานอาหารที่เหมาะสม ครบ 5 หมู่ ☑ ไม่รับประทานสมุนไพร วิตามิน หรืออาหารเสริมพร่ำเพรื่อ ☑ ไม่ใช่เข็มหรือสารเสพติดร่วมกับผู้อื่น ☑ สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ☑ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ☑ ตรวจสุขภาพรายปี 10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าตับของคุณอาจมีปัญหา ☑ รู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน นานติดต่อกันหลายวัน ☑ ทานอาหารไม่ได้มากเท่าเดิม เบื่ออาหาร ท้องอืดเฟ้อ ☑ เริ่มรู้สึกเจ็บใต้ชายโครงขวาหรือเจ็บบริเวณท้องด้านขวาตอนบน ☑ มีอาการตาเหลือง, ตัวเหลือง หรือภาวะโรคดีซ่าน ☑ ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม ร่วมกับอุจจาระซีด ☑ มีน้ำในท้อง ท้องมาน เท้าบวม เพราะตับเป็นอวัยวะภายในที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย และมีหน้าที่ที่สำคัญมากมาย ตับเป็นอวัยวะที่สร้างสารต่างๆที่สำคัญ เช่นไข่ขาวหนือ albumin ช่วยอุ้มน้ำให้อยู่ในหลอดเลือด หากไข่ขาวในเลือดต่ำจะทำให้เกิดอาการบวมเท้า ท้องมาน ตับเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และเกลือน้ำดีเพื่อช่วยย่อยสลายไขมัน โดยน้ำดีจะถูกขับออกทางเดินอาหารทำให้อุจาระสีเหลื