บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2019

ข้อจำกัดในการตรวจไฟโบรสแกน

รูปภาพ
ถึงแม้การตรวจตับผ่านวิธี FibroScan นั้นจะมีความสะดวกสบาย ไม่ยุ่งยาก ไม่เจ็บตัว และสามารถรู้ผลได้ทันที แต่ก็มีข้อจำกัดในการตรวจด้วยเช่นกัน ในกรณีที่ผู้ป่วย ไวรัสตับอักเสบซี บางราย อาจส่งผลกระทบได้หากทำการตรวจชนิดนี้ ซึ่งการตรวจ FibroScan จะต้องใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน และผ่านการใช้งานโดยแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพราะเครื่องมือชนิดนี้ถูกออกแบบมาสำหรับการ ตรวจความผิดปกติของตับ เท่านั้น หากตรวจโดนอวัยวะอื่นๆ ภายในร่างกายอาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ในภายหลัง หรือในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีที่มี อาการท้องมาน ท้องโต บวมอยู่แล้วก็ควรหลีกเลี่ยงการตรวจแบบ FibroScan เพราะคลื่นความถี่จากตัวเครื่องอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการรุนแรงได้ รวมทั้งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ด้วย อีกทั้งยังไม่สามารถใช้วิธีการตรวจชนิดนี้กับผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดอยู่ในร่างกาย เพราะคลื่นความถี่จะไปทำลายตัวอุปกรณ์ ทำให้เกิดความเสียหายหรือเกิดผลข้างเคียงได้นั่นเอง เพราะฉะนั้น ก่อนทำ การตรวจแบบไฟโบรสแกน จะต้องมีการซักประวัติ และตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนเสมอว่าควรทำการตรวจแบบนี้หรือไม่ เพื่อความปลอดภั

ตรวจตับไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด

รูปภาพ
Fibro Scan เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการประเมินโรคเกี่ยวกับตับทั้งหมดในปัจจุบันนี้ จากแต่ก่อนที่ใช้วิธีใน การเจาะเนื้อตับ เอาไปตรวจ ซึ่งมีความยุ่งยากและทำให้ผู้ที่ต้องการตรวจเจ็บตัว และหวาดระแวงไม่กล้าทำการรักษา การตรวจ "ไฟโบรสแกน" นั้นสามารถประเมินได้ถึง ภาวะของเนื้อตับ ในระยะแรกๆ แพทย์อาจระบุได้ว่าเข้าสู่ภาวะตับแข็งแล้วหรือไม่ คาดคะเนความรุนแรงของโรคและช่วยในการวินิจฉัยโรคเพื่อขั้นตอนการรักษาต่อไป โดยที่ผู้ป่วยเองไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะเจ็บตัวจากการผ่าตัดแต่อย่างใด แถมยังใช้ระยะเวลาไม่นาน ไม่ต้องพักฟื้นหรือนอนที่โรงพยาบาล สะดวกรวดเร็ว และ รู้ผลได้ในทันที ไม่ส่งผลร้ายใดๆ ต่อร่างกาย อีกทั้งยังสามารถตรวจซ้ำหลายๆ ครั้งได้เพื่อความแม่นยำในการรักษาโรค วิธีการตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan) ไม่ยุ่งยากเลย ก่อนหน้าที่เราจะทำการตรวจ ควร งดอาหาร ก่อนอย่างน้อยสักประมาณ 2-4 ชั่วโมงเมื่อเราเข้าสู่ห้องที่ใช้ปฎิบัติการ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ หรือแพทย์ที่รักษาประจำคนไข้ จะบอกให้เรานอนหงายบนเตียงที่เตรียมไว้ โดยยกแขนทั้งสองข้างไว้เหนือศีรษะ ทาเจลที่หัวตรวจ หรือผิวหนังคนไข้เล็กน

"ตับ" ผู้จัดการระบบร่างกาย

รูปภาพ
หลายคนเชื่อว่า หัวใจและสมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของมนุษย์เราเพราะหากส่วนนี้สูญเสียไป อาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที เมื่ออวัยวะชิ้นใดชิ้นหนึ่งถูกทำลายในร่างกาย โดยเฉพาะ "ตับ" ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันกับอวัยวะส่วนอื่นเลยทีเดียว เพราะตับเปรียบได้เหมือนกับเป็นผู้จัดการระบบร่างกาย และมีหน้าที่สำคัญ ขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ ทั้งการสร้างและส่งสารอาหาร จำพวกเกลือแร่ และโปรตีนที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ผลิตน้ำดี เพื่อย่อยและดูดซึมไขมันในอาหารเข้าสู่ร่างกาย เก็บรักษาพลังงานสะสมสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย กำจัดของเสียและสารพิษต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ ทั้งตับยังสร้างภูมิคุ้มกัน และ ทำลายเชื้อโรค ที่เข้าสู่ร่างกายได้อีกด้วย ตับ มีหน้าที่หลักในการทำลาย เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ จึงเป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุด เมื่อได้รับปริมาณแอลกอฮอล์มากเกินไป เซลล์ตับที่ถูกทำลายจะมีไขมันเข้าไปแทนที่ทำให้เกิด การคั่งของไขมันในตับ อันเป็นอาการแรกเริ่มของโรคตับอักเสบ ส่งผลให้เซลล์ตับถูกทำลายมากขึ้น และมีการสร้างพังผืดคล้ายแผลเป็น ทำให้ตับแข็งและสูญเสียต

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี

รูปภาพ
ผู้ที่เป็นโรค “ตับแข็ง” จากไวรัสตับอักเสบซี ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการรับเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซี เพิ่มเติมจากทุกช่องทาง รวมทั้งผู้ป่วยเองก็ควรดูแลรักษาสุขภาพอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ โดยสามารถเริ่มต้นจากการรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ ได้แก่ อาหารประเภทโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป โดยหากผู้ที่ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซี ยังไม่อยู่ใน สภาวะตับวาย ก็จะสามารถรับประทานโปรตีนได้ ในปริมาณปกติเทียบเท่ากับคนทั่วไป แต่ในรายที่เป็นไวรัสตับอักเสบซีแต่มีค่าตับที่ค่อนข้างแย่หรือมีภาวะตับวายไปแล้ว การรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนมากเกินไป จะเกิดอันตราย ต่อร่างกายได้ ทางที่ดีที่สุดควรรับประทานโปรตีนจากพืช เช่น นมถั่วเหลืองจะดีกว่าและไม่เสี่ยงต่อตับ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ควรรับประทานอาหารบ่อยมื้อขึ้น โดยแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ 4-6 มื้อ เพื่อทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และไม่รู้สึกโหย หรือหิวบ่อยจนทานมากเกินความจำเป็น ควรดูแลใส่ใจในภาชนะและการปรุงอาหาร ที่รับประทานอย่างถูกสุขอนามัย หลีกเลี่ยงอาหารที่สุกๆ ดิบๆ หรือกึ่งสุก เช่น สเต๊กเนื้อชิ้นหนานุ่ม เน

การตรวจหาไวรัสตับอักเสบซีผ่านห้องแล็บ

รูปภาพ
การตรวจหาไวรัสตับอักเสบซีผ่านห้องแล็บนั้น จะทำการตรวจภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า Anti-HCV ที่บ่งชี้ว่า คุณมีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอยู่ ณ ปัจจุบัน หรือเคยมีไวรัสตับอักเสบซีอยู่แล้ว หากผลออกมาเป็นบวก แสดงว่า เคยมีการติดเชื้อมาก่อน โดยขณะนั้น อาจมีหรือไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีหลงเหลืออยู่ในเลือดก็เป็นได้ ในขั้นตอนของการนับปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ถือเป็นการตรวจที่สำคัญก่อนรับการรักษาจากแพทย์ โดยแล็บจะใช้วิธีการตรวจแบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) หากผลออกมาเป็นบวกก็ยืนยันได้ทันทีว่าคุณติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอย่างแน่นอน แล็บจะทำการตรวจ การทำงานของตับ ควบคู่ไปด้วย เพื่อดูค่าการอักเสบของตับ 2 ค่านี้ AST และ ALT ในบางรายแพทย์อาจสั่งให้มีการ เจาะชิ้นเนื้อตับ เพื่อการวินิจฉัยโรค หรือการทำ ไฟโบรสแกน กับผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หากรวบรวมผลทั้งหมดแล้ว แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี ว่าเป็น โรคไวรัสตับอักเสบซี แบบเฉียบพลัน จะต้องมีการตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผลอีกใน 2-8 สัปดาห์ หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรัง จะพบผลแล็บที่แสดงอาการตับอักเสบมากกว่า 6 เดือน-