บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

ตับแข็ง ตัวการร้ายทำลายตับ

รูปภาพ
“ตับแข็ง” ตัวการร้ายทำลายตับ นอกจากเรื่องของไขมันพอกตับ ก็ยังมีเรื่องสาเหตุอื่นที่ทำให้ตับแข็ง คือ #ไวรัสตับอักเสบซี ที่ทำให้เกิดภาวะโรคตับแข็ง โดยเมื่อเกิดตับแข็ง ก็จะมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งตับ ได้ โดยคนที่เป็นตับแข็งในช่วงแรกจะไม่ค่อยมีอาการอะไร ถ้าเกิดตับยังไม่ได้เสียไปจนเยอะ เนื่องจากว่าตับเป็นอวัยวะที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในร่างกาย เพราะฉะนั้นกว่าที่ตับจะเสียหน้าที่จนเกิดอาการตับแข็ง ตับต้องเสียไปเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ จึงจะเริ่มมีอาการให้เห็นได้ สำหรับผู้ที่มีอาการตับแข็ง เช่น อาการท้องมาน อ่อนเปลี้ยเพลียแรง ตาเหลือง ตัวเหลือง ผอม แต่พุงโล ในผู้ชายก็อาจจะมีอาการขนตามตัวร่วง ตรวจร่างกายก็จะพบว่า ตาเหลือง ตัวเหลือง มีนิ้วปุ้ม มีเส้นเลือดขยายตัวที่หน้าอกหรือตามหัวไหล่ เหมือนเป็นเส้นใยแมงมุม เป็นเส้นเลือดฝอยเล็กๆ บางคนก็มีน้ำในท้อง ซึ่งมีโอกาสที่จะติดเชื้อง่าย บางคนก็ภาวะแทรกซ้อน เช่น อาเจียนเป็นเลือดได้ สนใจยารักษาไวรัสตับอักเสบซีติดต่อที่นี่ Line id: thaihcv

แอลกอฮอล์ อันตรายต่อตับแค่ไหน?

รูปภาพ
แอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่ส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่าง  โดยเฉพาะอวัยวะภายในอย่างเช่น ตับ  ที่ได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์โดยตรง  ก่อให้เกิดโรคร้ายที่ตับและเป็นอันตรายถึงชีวิต  อันตรายที่จะเกิดขึ้นจากตับ ซึ่งเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอยู่แล้ว  การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ ไวน์  หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น ๆ ทุกชนิด คือสาเหตุโดยตรง ที่ทำให้เกิดโรคตับ ไม่ว่าจะเป็นโรคตับแข็ง ตับวาย รวมถึงมะเร็งตับ โดยปกติแล้วตับเป็นอวัยวะที่สามารถ ฟื้นฟูตัวเองได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าหากมีการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ  จะทำให้ยิ่งเกิดผลเสียต่อตับในระยะยาว  เกิดการสะสมของพังผืดและทำให้ตับแข็ง  แต่ถ้าหากมีการเว้นระยะหรืองดการดื่มแอลกอฮอล์  ตับก็จะฟื้นฟูตัวเองได้ แม้จะเริ่มตับแข็งก็ยังฟื้นได้ในระดับหนึ่งเลยนะคะ  เพราะฉะนั้นหากลดละเลิกแอลกอฮอล์ได้ประกอบกับ การทานยาอย่างสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา หมั่นตรวจเช็คสุขภาพ  ก็สามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างแน่นอนค่ะ สนใจยารักษาไวรัสตับอักเสบซีติดต่อที่นี่

Fibroscan ตรวจตับด้วยเทคโนโลยี

รูปภาพ
Fibroscan เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ โดยไม่เกิดความเจ็บปวดใดๆ กับร่างกาย และลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน เมื่อเทียบจากการเจาะตับเอาชิ้นเนื้อไปตรวจนั่นเองค่ะ โดยเราจะทำการ Fibroscan เมื่อตรวจพบสัญญาณของอาการเหล่านี้ เช่น ตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย อาหารไม่ย่อย มีประวัติการดื่มสุราเรื้อรัง มีประวัติว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และไวรัสตับอักเสบ C ซึ่งหลายคนเข้าใจผิดมากกว่าการทำ Fibroscan จะรู้สึกเจ็บปวดหรือเป็นอันตรายแต่อยากให้ลบความคิดนั้นไปค่ะ เพราะมันเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ใช้เวลาไม่เกิน 5-10 นาทีเท่านั้น ผู้ที่ทำ Fibroscan จะรู้สึกสั่นสะเทือนบริเวณผิวหนังที่ปลายหัวอุปกรณ์เล็กน้อย แถมยังสามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้งและปลอดภัยอย่างมากเลยนะคะ ผลตรวจ Fibroscan สามารถช่วยในการติดตามผลการดำเนินโรคไวรัสตับอักเสบ และประเมินระดับความรุ่นแรงของภาวะตับแข็ง เพื่อดูผลการตอบสนองการรักษาและวางแผนการรักษาต่อไป โดยอาจใช้แทนการเจาะเนื้อตับในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามหร

ไม่รักษาไวรัสตับอักเสบซีได้ไหม

รูปภาพ
ถ้าหากโรคไวรัสตับอักเสบซี ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะตับอักเสบไปสู่โรคมะเร็ง ไม่ได้รับการรักษาหรือแก้ไข วันดีคืนดี ตับที่พยายามงอกแทรกขึ้นมาเพื่อทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไป อาจเกิดอาการงอกเรื่อยๆ จนไม่หยุด กลายเป็นก้อนที่โตขึ้นเรื่อยๆ ตรงนี้แหละค่ะ ที่ทางการแพทย์เรียกว่าเป็นภาวะมะเร็ง หรือถ้าเกิดจากเนื้อตับหรือเซลล์ตับ จะเรียกว่า มะเร็งตับ ชนิดเฮปาโตเซลลูล่า คาร์สิโนมาหรือเรียกสั้นๆ ว่า เฮปาโตมาหรือมีชื่อเล่นแบบย่อๆ ว่า HCC นั่นเอง การอักเสบของตับที่มีพังผืดและแผลเป็นเกิดขึ้นใช้เวลาสะสมนานหลายปี ตั้งแต่ 10-30 ปีเลยทีเดียว หากมองดูตับแข็ง จากภายนอกจะเห็นตับโตขึ้นตามระยะของโรค ผิวตับมีตะปุ่มตะป่ำเล็กบ้างใหญ่บ้าง วงจรของไวรัสตับอักเสบซี จากระยะต้นไปจนเป็นแบบเรื้อรัง ถ้าไม่ได้กำจัดให้สิ้นไปก็จะวนเวียนเป็นอย่างนี้จนสภาพตับพังไปในที่สุดค่ะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีที่เข้าสู่ภาวะมะเร็งตับ แล้ว มักจะเข้าใจผิดว่ารักษาไปก็ไม่ได้ผลอะไรดีขึ้นต้องปล่อยให้โรคดำเนินต่อไป ความจริงแล้วการรักษาไวรัสตับอักเสบซี โดยการมีพังผืดในตับหรือแผลในตับมากมายจะถูกกำจัดออกไปและไม่เกิดขึ้นใหม่ เพ

เมื่อหายจากไวรัสตับอักเสบซีแล้ว

รูปภาพ
เมื่อรักษา ไวรัสตับอักเสบซี  จนไม่สามารถตรวจพบไวรัสในเล ือด ถือว่าหายขาดแล้ว คือไม่กลับมาเป็นไวรัสตับอั กเสบซีอีก เพราะเนื้อตับที่ถูกทำลายไป แต่เดิม ไม่มีการอักเสบ เนื้อตับที่ดีก็จะโตขึ้นมาเ พื่อทดแทนที่เสียไป พังผืด หรือตับแข็งก็ค่อยๆ ลดลง ตับฟื้นได้ทำงานได้ดีขึ้น  แต่ยังคงแนะนำว่าควรเตือนตั วเองเสมอ  ถ้าเคยมีพังผืดอยู่ในตับมาก พอสมควรหรือเคยมีสภาวะ ตับแข็ง   แม้จะหายจากไวรัสตับอักเสบซ ีแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็ งตับ แทรกขึ้นมาเมื่อใดก็ได้  เพราะฉะนั้นจะต้องไม่ประมาท ต้องคอยติดตามตรวจเช็คค่า มะเร็งตับ  ค่าการทำงานของตับ  และตรวจตับด้วยอัลตราซาวน์อ ย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน  เพราะหากพบอะไรผิดปกติก็จะส ามารถดำเนินการรักษาได้อย่า งทันถ้วงทีค่ะ สนใจยารักษาไวรัสตับอักเสบซีติดต่อที่นี่ Line id: thaihcv

ยาอินเตอร์เฟียรอน

รูปภาพ
ยาฉีดรักษาไวรัสตับอักเสบซี  ที่มีอยู่ในรพ.ไทยนั้น หรือที่เรียกว่า ยาอินเตอร์เฟียรอน ให้โดยการฉีดเข้าสู่ใต้ชั้น ผิวหนัง บริเวณหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา (ยกเว้นสะดือ) สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีส่ว นใหญ่มักถูกคุณหมอสอนให้ฉีด ยาได้ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ เหมือนคนเป็นโรคเบาหวานเลยค ่ะ แต่ตัวยาอินเตอร์เฟียรอนนี้  มีผลข้างเคียงเป็นภาวะแทรกซ ้อนอยู่พอสมควร ได้แก่ มีอาการไข้ขึ้น ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย หลังจากได้รับยา แต่อาการจะค่อยๆ ลดลงไปตามระยะเวลา  ผลของยาจะกดการสร้างเม็ดเลื อด ทำให้เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดต่ำลง จึงควรติดตามการรักษาอย่างต ่อเนื่อง เพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 2 เดือนแรก ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่พบได้บ่ อย ได้แก่ ผมร่วง มีความเครียด นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า คิดมาก สมาธิสั้น นอกจากนี้ ยาฉีดจะส่งผลต่อการทำงานของ ต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมลดลงหรือมากขึ้นจน เป็นพิษ อาจเกิดอาการชีพจรเต้นเร็วแ ละน้ำหนักลด ก็เป็นได้ค่ะ สนใจยารักษาไวรัสตับอักเสบซีติดต่อที่นี่ Line id: thaihcv

ก่อนรักษาไวรัสตับอักเสบซี

รูปภาพ
ก่อนทำการรักษาไวรัสตับอักเสบซี แพทย์ที่ปรึกษาจะทำการตรวจประเมินว่า ภาวะการทำงานของตับ และเนื้อตับของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีนั้นดีอยู่หรือไม่ อย่างไร ตับกำลังจะเข้าสู่ตับแข็งหรือไม่ รวมถึงการตรวจเลือดเพื่อดูค่าการทำงานของตับโดยรวมทั้งหมด ค่าเม็ดเลือด เกล็ดเลือด ค่าไต ค่ามะเร็งตับ (AFP) และตรวจดูสภาพตับจากคลื่นเสียง (อัลตราซาวนด์) หรือมากกว่านั้นตามความเหมาะสม และอาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี เช่น การเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือตรวจตับด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือแม้แต่การเจาะเนื้อตับชิ้นเล็กๆ ไปตรวจ ซึ่งปัจจุบันวิธีทำน้อยลง เพราะมีเครื่องวัดความหนาแน่นของตับหรือวัดพังผืดในตับ รวมทั้งนิยมใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ไฟโบรสแกน (Fibroscan) ด้วย ถ้าค่าที่ออกมาต่ำกว่า 6 kPa หมายถึงเนื้อตับปกติ ถ้าเกิน 7.5 kPa แปลว่ามีพังผืดมากขึ้นใกล้ๆ ตับแข็ง หากเกิน 12 kPa ขึ้นไปแสดงว่าผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีอยู่ในสภาวะตับแข็งเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับแพทย์เจ้าของคนไข้แปลและวินิจฉัยผลตรวจอีกรอบ Cipla ผู้ประกอบการรายหลักๆ ของตลาดยาโรงพยาบาล ของบ้านเ ราที่เรารู้จัก ยาทั้งสองตัวนี้ คือ

สายพันธ์ไวรัสตับอักเสบซี (HCV Genotype)

รูปภาพ
ไวรัสตับอักเสบซีมีอยู่หลาย สายพันธุ์ หรือจีโนไทป์ (Genotype) แบ่งเป็นชนิดที่ 1-6 โดยประเทศไทยพบสายพันธุ์ 1 และ 3 พอๆ กันค่ะ อยู่ที่ร้อยละ 30-40 ชนิดที่ 3 อาจจะมากกว่าชนิดที่ 1 เล็กน้อยที่เหลือเป็นสายพัน ธุ์ที่ 6 มากน้อยแตกต่างกันออกไปตามแ ต่ละพื้นที่นะคะ ส่วนไวรัสตับอักเสบซีสายพัน ธุ์อื่นพบน้อยที่ต้องแยกชนิ ด เพราะโอกาสหายและระยะเวลาใน การรักษาก็ต่างกันด้วยค่ะ ณ เวลานี้ผู้ป่วยไวรัสตับอักเ สบซี จะต้องสอบถามแพทย์ถึงวิธีกา รรักษา ว่าควรใช้ยาอะไร นานเท่าไหร่ มีภาวะแทรกซ้อนอะไร ให้ปรึกษาแพทย์อย่างละเอียด  รวมถึงโอกาสในการหายจากไวรั สตับอักเสบซี การเตรียมตัว ค่าใช้จ่ายในการรักษา วิถีชีวิตในการทำงานหรือการ ใช้ชีวิต ต้องตัดสินใจร่วมกับแพทย์ว่ าจะสู้กับไวรัสตับอักเสบซีต ่อไปอย่างไร สนใจยารักษาไวรัสตับอักเสบซีติดต่อที่นี่ Line id: thaihcv

ปัญหาจากโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสซี

รูปภาพ
การเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสซี มีปัญหาอะไรตามมาบ้าง ? ไวรัสตับอักเสบซี มีความแตกต่างจากไวรัสตับอักเสบตัวอื่นอยู่พอสมควรนะคะ เพราะไวรัสตับอักเสบซี แทบจะไม่แสดงอาการอะไรออกมาให้เราสังเกตุเห็นง่ายๆ เมื่อได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมาจากเลือดทำให้เกิดอาการตับอักเสบแบบเฉียบพลันชนิดที่ไม่แสดงอาการ เช่น ตาเหลือง ตัวเหลือง และตับอักเสบไม่มาก ค่าการอักเสบหรือ ALT อยู่หลักร้อยไม่ถึงหลักพันค่ะ ถึงได้เน้นย้ำว่าหากเข้าข่ายก็ต้องรีบไปตรวจ เพราะถ้าเราไม่ตรวจมันก็ไม่แสดงอาการอะไร จนเมื่อผ่านปีไปก็เริ่มเข้าสู่ระยะเรื้อรังของตับแบบเงียบๆ ไม่แสดงอาการเช่นกันค่ะ จนกว่าจะไปหาหมอ ตรวจเลือด เช็คค่าตับ ก็จะพบค่าการอักเสบที่สูงเกินปกติไปไม่มาก (หลักสิบหรือหลักร้อย) บางผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ค่าการอักเสบไม่ขึ้นเกินค่าปกติเสียด้วยซ้ำ คือไม่ขึ้นเกิน 40 IU/L ไวรัสตับอักเสบซีจะแอบแฝงอาการไปอย่างช้าๆ จนกินเวลา 10-20 ปีเลยก็เป็นได้ จึงจะเข้าสู่ระยะตับแข็งในแรกเริ่ม และก็น่าประหลาดคือมันจะไม่แสดงอาการอะไรให้เรารู้อีกเหมือนเดิมค่ะ ตับก็แข็งมากขึ้นๆ จนผ่านไปอีกหลายปีถึงจะเข้าระยะสุดท้าย ก็เริ่มแสดงอาการ

รู้ได้ยังไงว่าติดไวรัสตับอักเสบซี

รูปภาพ
จะรู้ได้แน่นอนยังไงว่าเราต ิดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจริ ง เมื่อทำการตรวจคัดกรองด้วยว ิธีหา Anti-HCV แล้วผลออกมาเป็นบวก แพทย์จะยืนยันต่อด้วยการตรว จสายพันธุกรรมของไวรัสตับอั กเสบซี หรือที่เรียกว่าการตรวจ RNA ของไวรัสตับอักเสบซี (HCV RNA) เพราะการตรวจโดยใช้เครื่องแ บบนี้มีความไวและแม่นยำสูงม ากค่ะ เป็นการตรวจไปด้วยพร้อมกับน ับจำนวนไวรัสไปด้วย HCV Viral Load ผลที่รายงานออกมาจะเป็นจำนว นกี่ยูนิตต่อมิลลิลิตรของเ ลือด หรือไอยูเปอร์เอ็มแอล (IU/ mL) หน่วยยูนิต ต้องไปแปลงเป็นกี่ตัวอีกครั้งด้ว ยการคำนวณ แต่เครื่องตรวจในปัจจุบันนั ้นมีออกมาหลายบริษัทมากค่ะ การใช้ยูนิตก็เพื่อให้นับจำ นวนออกมาเหมือนกัน ฉะนั้นเราจึงใช้คำว่า "ยูนิต" เป็นหน่วยกลางๆ ทีนี้ปัญหามักจะมีอยู่ 2 แบบก็คือ หลายคนตกใจว่า ผลของตัวเองตั้ง 2 แสน อุ้ยของคนอื่นแค่ 5 หมื่น เอาเป็นว่ามากน้อยต่างกันไป  ในภาษาแพทย์มักจะใช้ว่ามากก ว่า 6 หรือ 7 แสนยูนิตขึ้นไป ตัวเลขไม่ค่อยแน่นอน ถ้ามากก็บ่งชี้ว่าอาจจะรักษ ายากกว่าคนที่มีจำนวนน้อย แต่อย่ากังวลมากค่ะ เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายอย่ างที่มีผลต่อการรักษาไวรัสต ับอักเสบซีนะคะ ปัญหาที่สอ