อวัยวะใดในร่างกายที่สำคัญที่สุด?

ตับและการทำงานของตับ

หากจะถามว่าอวัยวะใดในร่างกายของคนเราที่สำคัญที่สุด หลายคนอาจจะคิดว่า "หัวใจ" หรือเปล่า เพราะหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย แต่ความจริงแล้วรู้หรือไม่ว่า "ตับ" เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของมนุษย์เรา โดยมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 50 ของน้ำหนักตัวของคนเราเลยทีเดียว เช่น หากคุณมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ตับของคุณอาจจะหนักถึง 1 กิโลกรัมกว่าๆ เลยก็เป็นได้ เมื่อเป็นทารกแรกเกิด ตับจะมีขนาดใหญ่ถึง 1 ใน 18 ของตัวเด็ก เพราะฉะนั้นตับจึงถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายของคนเราอย่างมาก

การทำงานของตับ

ลักษณะของตับจะมีรูปร่างคล้ายลิ่ม ซ่อนตัวอยู่บริเวณชายโครงด้านขวาใต้กระบังลม มีกระดูกซี่โครงทางด้านขวากันไว้เป็นเกราะป้องกันอีกชั้น สีของตับจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผิวมันเรียบ เทียบได้เหมือนตับหมูหรือวัวที่เราเห็นได้ทั่วไปในท้องตลาด ตับของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 
  • ส่วนขวาที่เป็นส่วนใหญ่ของตับและ
  • ส่วนซ้ายที่มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 5-6 เท่า 

เลือดที่ไหลเวียนภายในตับมีปริมาณมากซึ่งเป็นเลือดที่มาจากหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ตับจึงมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของร่างกาย เสมือนเป็นโรงงานผลิตสารต่างๆ ที่จำเป็นแก่เรา รวมทั้งขจัดของเสียที่ไม่มีประโยชน์ให้ถูกขับถ่ายออกไปหรือนำบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ได้ ตับเก็บสะสมอาหารที่ร่างกายต้องการและสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงด้วย

ไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบซี

ถึงแม้จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับตับโดยตรง ที่มีการแพร่กระจายของเชื้อไปในร่างกายได้ง่าย แต่ผู้ป่วยหลายท่านหลังจากติดเชื้ออาจไม่กลายเป็นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรังเสมอไป เพราะประมาณ หกเดือนจะถือว่าผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีนั้น เป็นการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน ที่ถือว่าเป็นภาวะเจ็บป่วยระยะสั้นๆ เท่านั้น แต่หากปล่อยหรือละเลยไว้เป็นระยะเวลานาน อาจเข้าสู่ภาวะเรื้อรัง เกิดการเจ็บป่วยระยะยาวและนำไปสู่โรคร้ายอย่างตับแข็งหรือมะเร็งตับต่อไป

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี สามารถติดต่อผ่านสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลที่ไม่มีมาตรฐาน หรือมีการนำเอาอุปกรณ์การแพทย์มาใช้ซ้ำโดยไม่ได้ทำความสะอาด หรือฆ่าเชื้อที่ถูกหลักอนามัย นี่เป็นประเด็นที่ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีหลายคนชะล่าใจ ทำให้ไม่คิดว่าจะติดเชื้อ แต่ส่วนใหญ่นั้น จะติดเชื้อผ่านเลือด หรือผู้ที่ใช้ยาเสพติดประเภทฉีดเข้าเส้นเลือด รวมทั้งใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้อื่นด้วย ก็มีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ดังนั้นจึงควรหาโอกาสตรวจไวรัสตับอักเสบซีโดยเร็วที่สุด

สนใจยารักษาไวรัสตับอักเสบซีติดต่อที่นี่


Line id: thaihcv



โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภัยเงียบที่คุกคามคนไทย ไวรัสตับอักเสบซี

Sofosbuvir+ Velpatasvir ขายยารักษาไวรัสตับอักเสบซี

กลุ่มเสี่ยงต่อไวรัสตับอักเสบซี และอาการที่สังเกตได้