ตรวจตับไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด
Fibro Scan เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการประเมินโรคเกี่ยวกับตับทั้งหมดในปัจจุบันนี้ จากแต่ก่อนที่ใช้วิธีในการเจาะเนื้อตับเอาไปตรวจ ซึ่งมีความยุ่งยากและทำให้ผู้ที่ต้องการตรวจเจ็บตัว และหวาดระแวงไม่กล้าทำการรักษา การตรวจ "ไฟโบรสแกน" นั้นสามารถประเมินได้ถึงภาวะของเนื้อตับในระยะแรกๆ แพทย์อาจระบุได้ว่าเข้าสู่ภาวะตับแข็งแล้วหรือไม่ คาดคะเนความรุนแรงของโรคและช่วยในการวินิจฉัยโรคเพื่อขั้นตอนการรักษาต่อไป โดยที่ผู้ป่วยเองไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะเจ็บตัวจากการผ่าตัดแต่อย่างใด แถมยังใช้ระยะเวลาไม่นาน ไม่ต้องพักฟื้นหรือนอนที่โรงพยาบาล สะดวกรวดเร็ว และรู้ผลได้ในทันที ไม่ส่งผลร้ายใดๆ ต่อร่างกาย อีกทั้งยังสามารถตรวจซ้ำหลายๆ ครั้งได้เพื่อความแม่นยำในการรักษาโรค
วิธีการตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan) ไม่ยุ่งยากเลย ก่อนหน้าที่เราจะทำการตรวจ ควรงดอาหารก่อนอย่างน้อยสักประมาณ 2-4 ชั่วโมงเมื่อเราเข้าสู่ห้องที่ใช้ปฎิบัติการ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ หรือแพทย์ที่รักษาประจำคนไข้ จะบอกให้เรานอนหงายบนเตียงที่เตรียมไว้ โดยยกแขนทั้งสองข้างไว้เหนือศีรษะ ทาเจลที่หัวตรวจ หรือผิวหนังคนไข้เล็กน้อย จากนั้นก็จะทำการตรวจวัดที่บริเวณตำแหน่งตรงกลางเนื้อตับ ทั้งหมด 10 ครั้งในจุดเดียวกัน ผลที่ได้เป็นค่าความแข็งของตับ เป็นเลขตั้งแต่ 5-75 กิโลพาสคาล และค่าปริมาณไขมันสะสมในตับตั้งแต่ 100-400 เดซิเบล/เมตร ซึ่งแพทย์จะแปลผลที่ได้เพื่อใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคตับ โดยทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียงแค่ 10-15 นาทีเท่านั้นก็เป็นอันตรวจเสร็จ
สนใจยารักษาไวรัสตับอักเสบซีติดต่อที่นี่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น