การตรวจหาไวรัสตับอักเสบซีผ่านห้องแล็บ
การตรวจหาไวรัสตับอักเสบซีผ่านห้องแล็บนั้น จะทำการตรวจภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า Anti-HCV ที่บ่งชี้ว่า คุณมีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอยู่ ณ ปัจจุบัน หรือเคยมีไวรัสตับอักเสบซีอยู่แล้ว หากผลออกมาเป็นบวก แสดงว่าเคยมีการติดเชื้อมาก่อน โดยขณะนั้น อาจมีหรือไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีหลงเหลืออยู่ในเลือดก็เป็นได้ ในขั้นตอนของการนับปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ถือเป็นการตรวจที่สำคัญก่อนรับการรักษาจากแพทย์ โดยแล็บจะใช้วิธีการตรวจแบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) หากผลออกมาเป็นบวกก็ยืนยันได้ทันทีว่าคุณติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอย่างแน่นอน
แล็บจะทำการตรวจการทำงานของตับควบคู่ไปด้วย เพื่อดูค่าการอักเสบของตับ 2 ค่านี้ AST และ ALT ในบางรายแพทย์อาจสั่งให้มีการเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อการวินิจฉัยโรค หรือการทำไฟโบรสแกนกับผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หากรวบรวมผลทั้งหมดแล้ว แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี ว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีแบบเฉียบพลัน จะต้องมีการตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผลอีกใน 2-8 สัปดาห์ หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรัง จะพบผลแล็บที่แสดงอาการตับอักเสบมากกว่า 6 เดือน-1 ปี ขึ้นไป ร่วมกับจำนวนเชื้อไวรัสตับอักเสบซีที่มีจำนวนสูงมาก
ไวรัสตับอักเสบซี ถือเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารที่ส่งผลให้การทำงานของตับมีปัญหา ผู้ที่ติดเชื้อบางราย มีอาการตับอักเสบเฉียบพลัน สังเกตุได้จากการมีไข้หวัดและอาการดีซ่านตามมา บางคนชะล่าใจนึกว่าเป็นอาการที่ไม่รุนแรง จึงไม่ได้ไปพบแพทย์ส่งผลให้เชื้อกลายเป็นไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังในเวลาต่อมา จนเกิดภาวะตับแข็งและตับวายได้ หรือในบางรายก็มีอาการปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวาจากโรคมะเร็งตับที่เกิดแทรกซ้อน ด้วยเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายสูง
ไวรัสตับอักเสบซีอยู่ในเลือดหรือสารคัดหลั่งของคนเรา สามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นผ่านบาดแผล ที่บริเวณผิวหนังหรือเยื่อบุส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบซีโดยตรงคล้ายเอชไอวี ดังนั้นการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์ส่วนตัว หรือของมีคมร่วมกัน เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ อุปกรณ์ทำความสะอาดฟัน ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ จะสามารถป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบซีไปสู่ผู้อื่นได้
ส่วนการสัมผัสร่างกาย การกอด จูบ หอม หรือรับประทานอาหารและเครื่องดื่มร่วมกันกับผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ไม่ได้เป็นช่องทางติดต่อของเชื้อไวรัส ดังนั้นผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับบุคคลในครอบครัว หรือเพื่อนได้ตามปกติ
สนใจยารักษาไวรัสตับอักเสบซีติดต่อที่นี่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น