แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง



แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง
ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
Thailand Practice Guideline for Management of Chronic
Hepatitis C 2016

การประเมินผู้ป่วยที่ตรวจซีรั่ม anti-HCV ให้ผลบวก 
๐ ตรวจปริมาณ HCV RNA ในเลือดเพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ด้วยวิธีตรวจที่มีความไวสูง สามารถตรวจพบ HCV RNA ได้อย่างน้อย 15 IU/mL 
๐ หากตรวจไม ่พบ HCV RNA ให้ตรวจ HCV RNA ซ้ำอีกครั้งที่ 3-6 เดือน ถัดมา 
• ถ้าไม่พบ HCV RNA แสดงว่าเป็นภาวะบวกปลอม (false positive) หรือหายจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซีแล้ว ให้คำแนะนำและไม่ต้อง นัดตรวจติดตาม 
• หากตรวจพบ HCV RNA แสดงว่าเป็นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซีเรื้อรัง ให้ ประเมินดังนี้ 
- ตรวจเลือดประเมินสภาพและการทำงานของตับ (Liver Function Test; LFT), complete blood count และ coagulogram
 - ตรวจ HBsAg, anti-HBc, anti-HIV และ anti-HAV antibodies
 - ประเมินความรุนแรงของพังผืดในเนื้อตับด้วยวิธีการที่จะกล่าวต่อไป 
- ประเมินโรคร่วมอื่นๆ เพื่อพิจารณาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย 
- ตรวจสายพันธุ์ไวรัสตับอักเสบ ซี(HCVgenotype) เพื่อวางแนวทางการรักษา
 ข้อแนะนำ ให้ตรวจ HCVRNAแม้ว่าการทดสอบ anti-HCVเบื้องต้นให้ผลลบ ใน กลุ่มผู้ป่วยที่สงสัยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซีฉับพลัน (acutehepatitis C)และผู้ป่วย ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV หรือผู้ป่วยที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
การตรวจประเมินความรุนแรงของพังผืดในโรคไวรัสตับอักเสบซี เรื้อรัง
๐ การตรวจประเมินที่บ่งชี้ significant fibrosis
 - การตรวจชิ้นเนื้อตับ ประเมินลักษณะทางพยาธิวิทยาพบพังผืดในเนื้อตับตาม ระบบ METAVIR มากกว่าหรือเท่ากับ 2
 - ตรวจวัดความยืดหยุ่นของเนื้อตับด้วยtransientelastographyได้ค่ามากกว่า 7.0 kilopascal (kPa) 
- ตรวจวัดความยืดหยุ่นของเนื้อตับด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (acoustic radiation force impulse imaging) ได้ค่ามากกว่า 1.2 เมตรต่อวินาที - การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ a-2-macroglobulin, gamma-glutamyl transpeptidase,apolipoproteinA1,haptoglobinและtotal bilirubin ร่วมกับนำข้อมูลอายุและเพศของผู้ป่วยไปคำนวณในระบบการตรวจที่เรียก ว่า Fibrotest® ได้ค่ามากกว่า 0.48 - การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ platelets, a-2-macroglobulin, alanine aminotransferase, aspartate aminotransferase, gamma-glutamyl transpeptidase,urea,และ prothrombinindex ไปคำนวณในระบบการ ตรวจที่เรียกว่า Fibrometer® ได้ค่ามากกว่า 0.64 
๐ การตรวจประเมินที่บ่งชี้ภาวะตับแข็ง
 - การตรวจภาพรังสีวินิจฉัยของตับ มีลักษณะบ่งชี้ภาวะตับแข็ง 
- การตรวจชิ้นเนื้อตับ ประเมินลักษณะทางพยาธิวิทยาพบพังผืดในเนื้อตับตาม ระบบ METAVIR เท่ากับ 4 
- ตรวจวัดความยืดหยุ่นของเนื้อตับด้วยtransientelastographyได้ค่ามากกว่า หรือเท่ากับ 13 kPa
 - ตรวจวัดความยืดหยุ ่นของเนื้อตับด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (acoustic radiation force impulse imaging) ได้ค่ามากกว่า 1.8 เมตรต่อวินาที 
- การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ a-2-macroglobulin, gamma-glutamyltranspeptidase,apolipoproteinA1,haptoglobinและtotal bilirubinร่วมกับนำข้อมูลอายุและเพศของผู้ป่วยไปคำนวณในระบบการตรวจที่เรียก ว่า Fibrotest® ได้ค่ามากกว่า 0.74 - การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ platelets, a-2-macroglobulin, alanine aminotransferase, aspartate aminotransferase, gamma-glutamyl transpeptidase,urea,และ prothrombinindex ไปคำนวณในระบบการ ตรวจที่เรียกว่า Fibrometer® ได้ค่ามากกว่า 0.78
ข้อบ่งชี้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง
๐ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซีทุกรายควรได้รับการรักษา แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดใน ด้านงบประมาณและบุคลากรที่มีความชำนาญในการรักษาเฉพาะโรค จึงต้อง มีการจัดลำดับความสำคัญของคนไข้ที่ควรได้รับการรักษาเป็นลำดับแรกๆ ก่อน 
๐ ไม่มีโรคร่วมอื่นๆ ที่รุนแรงจนส่งผลให้ผู้ป่วยมีอายุขัยที่คาดหวังลดลง 
๐ ไม่มีข้อห้ามต่อการรักษา
ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรังที่ควรได้รับการรักษาเป็นลำดับแรก
๐ ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง รวมถึงตับแข็งที่เป็นมากแล้ว (decompensated cirrhosis) 
๐ ผู้ป่วยที่มีพังผืดในเนื้อตับในระดับมาก(bridgingfibrosis)ตามระบบ METAVIR เท่ากับ 3 หรือวิธีการตรวจอื่นที่เทียบเท่า 
๐ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย
๐ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HBV ร่วมด้วย 
๐ ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการปลูกถ่ายตับ 
๐ ผู้ป่วยที่มีการกลับเป็นซ้ำของ HCV ภายหลังจากได้รับการปลูกถ่ายตับ 
๐ ผู้ป่วยที่มีลักษณะทางคลินิกอื่นๆนอกตับที่รุนแรง


ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรังที่ควรได้รับการพิจารณาการรักษาเป็น ลำดับต่อมา
๐ ผู้ป่วยที่มีพังผืดในเนื้อตับระดับที่มีความสำคัญ (significantfibrosis)ตามระบบ METAVIR เท่ากับ 2 หรือวิธีการตรวจอื่นที่เทียบเท่า 
๐ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะถ่ายทอดเชื้อ HCV ไปให้ผู้อื่น ดังนี้ 
- ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนจะมีบุตร 
- ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องได้รับการฟอกเลือด
ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรังที่สามารถติดตามต่อเนื่องโดยยัง ไม่ต้องทำการรักษา
๐ ผู้ป่วยที่ยังไม่มีพังผืดในเนื้อตับหรือมีพังผืดเพียงเล็กน้อยตามระบบ METAVIR เท่ากับ 0 ถึง 1 และไม่มีข้อบ่งชี้อื่นที่จำเป็นต้องรีบได้รับการรักษา
ยารักษาไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรังที่มีในประเทศไทย
- Pegylated interferon alfa 2a หรือ 2b
 - Ribavirin 
- Boceprevir 
- Sofosbuvir 
- Daclatasvir
 - ยาที่กำลังขึ้นทะเบียน ได้แก่ simeprevir ยาสูตรผสมระหว่าง sofosbuvir และledipasvirยาสูตรผสมระหว่างparitaprevir/ritonavirและombitasvir ร่วมกับ dasabuvir














การรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง 
ในผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการรักษามาก่อน และผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนอง
 ต่อการรักษาด้วย pegylated interferon ร่วมกับ ribavirin
การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง สายพันธุ์ 1
ผู้ป่วยที่ยังไม่มีภาวะตับแข็ง 
สูตรที่ 1: pegylated interferon ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับ sofosbuvir รับประทาน ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ 
สูตรที่ 2: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ daclatasvir รับประทานขนาด 60 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา นาน 12 สัปดาห์ 
สูตรที่ 3: ยาสูตรผสมระหว่างsofosbuvirขนาด400มิลลิกรัมและledipasvir ขนาด90มิลลิกรัมรับประทานวันละ1ครั้ง เป็นเวลานาน 12สัปดาห์สามารถ รักษานานเพียง 8 สัปดาห์ในผู้ป่วยสายพันธุ์1b ที่มีHCV RNA ก่อนการรักษา น้อยกว่า 6,000,000 IU/mL 
สูตรที่ 4: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ simeprevir รับประทานขนาด 150 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา นาน 12 สัปดาห์ หมายเหตุ: simeprevir ไม่ให้ไช้ในสายพันธุ์1a ที่มีQ80k variant 
สูตรที่ 5: ยาสูตรผสมระหว ่าง paritaprevir ขนาด 150 มิลลิกรัม และ ritonavir ขนาด 100 มิลลิกรัม และ ombitasvir ขนาด 25 มิลลิกรัม วันละ1ครั้ง ร่วมกับ dasabuvirขนาด250มิลลิกรัมรับประทานวันละ2ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ หมายเหตุ: ให้ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง ร ่วมด้วยในสายพันธุ์ 1a

ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง 
สูตรที่ 1: pegylated interferon ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับ sofosbuvir รับประทาน ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ 
สูตรที่ 2: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ daclatasvir รับประทานขนาด 60 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยา ribavirin ได้ให้รักษานานขึ้นเป็น 24 สัปดาห์ 
สูตรที่ 3: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร ่วมกับ ledipasvir รับประทานขนาด 90 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วม กับ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยา ribavirin ได้ให้รักษานานขึ้นเป็น 24 สัปดาห์ 
สูตรที่ 4: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ simeprevir รับประทานขนาด 150 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร ่วมกับ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยา ribavirin ได้ให้รักษานานขึ้นเป็น 24 สัปดาห์ 
สูตรที่ 5: ยาสูตรผสมระหว่าง paritaprevirขนาด150มิลลิกรัมและritonavir ขนาด 100 มิลลิกรัม และ ombitasvir ขนาด 25 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ dasabuvir ขนาด 250 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง และ ribavirinรับประทานวันละ2ครั้ง ให้การักษานาน 12สัปดาห์สำหรับสายพันธุ์ 1b และนาน 24 สัปดาห์สำหรับสายพันธุ์1a





การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง สายพันธุ์ที่ 2
 ผู้ป่วยที่มีหรือไม่มีภาวะตับแข็ง 
สูตรที่ 1: pegylated interferon ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ ribavirinรับประทานวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับsofosbuvir รับ ประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์
สูตรที่ 2: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ daclatasvir รับประทานขนาด 60 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา นาน 12 สัปดาห์ 
สูตรที่ 3: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละครั้ง ร่วมกับ ribavirinรับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่ไม่มีตับแข็ง และนาน 16 ถึง 24 สัปดาห์ในผู้ป่วยที่ มีภาวะตับแข็ง

การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง สายพันธุ์ที่ 3
๐ ผู้ป่วยที่ยังไม่มีภาวะตับแข็ง สูตรที่ 1: pegylated interferon ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับ sofosbuvir รับประทาน ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ สูตรที่ 2: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร ่วมกับ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 24 สัปดาห์ สูตรที่ 3: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ daclatasvirรับประทานขนาด60มิลลิกรัมวันละครั้งเป็นเวลานาน 12สัปดาห์ ๐ ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง สูตรที่ 1: pegylated interferon ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับ sofosbuvir รับประทาน ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ สูตรที่ 2: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ daclatasvir รับประทานขนาด 60 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ribavirin รับประทานขนาด 1,000-1,200 มิลลิกรัม โดยแบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 16 ถึง 24 สัปดาห์ หมายเหตุ: รักษาเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ในกรณีที่เป็นเพียง bridging fibrosis

การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง สายพันธุ์ที่ 4
๐ผู้ป่วยที่ยังไม่มีภาวะตับแข็ง 
สูตรที่ 1: pegylated interferon ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับ sofosbuvir รับประทาน ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ 
สูตรที่ 2: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ daclatasvir รับประทานขนาด 60 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา นาน 12 สัปดาห์ 
สูตรที่ 3: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ledipasvir รับประทานขนาด90มิลลิกรัมวันละ 1ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ 
สูตรที่ 4: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ simeprevir รับประทานขนาด 150 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา นาน 12 สัปดาห์ 
๐ ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง 
สูตรที่ 1: pegylated interferon ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับ sofosbuvir รับประทาน ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ 
สูตรที่ 2: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ daclatasvir รับประทานขนาด 60 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยา ribavirin ได้ให้รักษานานขึ้นเป็น 24 สัปดาห์ 
สูตรที่ 3: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ledipasvir รับประทานขนาด 90 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยา ribavirin ได้ให้รักษานานขึ้นเป็น 24 สัปดาห์
สูตรที่ 4: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร ่วมกับ simeprevir รับประทานขนาด 150 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยา ribavirin ได้ให้รักษานานขึ้นเป็น 24 สัปดาห์

การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง สายพันธุ์ที่ 5 และ 6
๐ ผู้ป่วยที่ยังไม่มีภาวะตับแข็ง 
สูตรที่ 1: pegylated interferon ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ ribavirinรับประทานวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับ sofosbuvir รับประทาน ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ 
สูตรที่ 2: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ daclatasvir รับประทานขนาด 60 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา นาน 12 สัปดาห์ 
สูตรที่ 3: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ledipasvir รับประทานขนาด 90มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ 
๐ ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง 
สูตรที่ 1: pegylated interferon ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับ sofosbuvir รับประทาน ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ 
สูตรที่ 2: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ daclatasvir รับประทานขนาด 60 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ribavirin รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยา ribavirin ได้ให้รักษานานขึ้นเป็น 24 สัปดาห์ 
สูตรที่ 3: sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ledipasvir รับประทานขนาด 90 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ribavirinรับประทานวันละ2ครั้งเป็นเวลานาน 12สัปดาห์ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถ ใช้ยา ribavirin ได้ให้การรักษานานขึ้นเป็น 24 สัปดาห์




















ตารางสรุปแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง
ผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะตับแข็ง

ไม่มีภาวะ ตับแข็ง
SOF/Peg/ RBV S
SOF/RBV
SOF/LDV
AbbVie’s
SOF/SMP
SOF/DCV
G1a
12 สัปดาห์

8 - 12 สัปดาห์
12 สัปดาห์ + RBV
12 สัปดาห์
12 สัปดาห์
G1b
12 สัปดาห์
G2
12 สัปดาห์
12 สัปดาห์



12 สัปดาห์
G3
12 สัปดาห์
24 สัปดาห์



12 สัปดาห์
G4
12 สัปดาห์

12 สัปดาห์

12 สัปดาห์
12 สัปดาห์
G5/6
12 สัปดาห์

12 สัปดาห์


12 สัปดาห์

คำย่อ. G, genotype; DCV, daclatasvir; LDV, ledipasvir; Peg, pegylated interferon; SOF, sofosbuvir; SMP, simeprevir; RBV, ribavirin. AbbVie’s สูตรยาประกอบด้วย paritaprevir, ritonavir, ombitasvir และ dasabuvir

ตารางสรุปแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง
ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง

ไม่มีภาวะ ตับแข็ง
SOF/Peg/ RBV S
SOF/RBV
SOF/LDV
AbbVie’s
SOF/SMP
SOF/DCV
G1a
12 สัปดาห์

24 สัปดาห์ 12 สัปดาห์+ RBV
24 สัปดาห์+ RBV
24 สัปดาห์ 12 สัปดาห์+ RBV
24 สัปดาห์ 12 สัปดาห์+ RBV
G1b
24 สัปดาห์+ RBV
G2
12 สัปดาห์
16-20 สัปดาห์



12 สัปดาห
G3
12 สัปดาห์




16-24 สัปดาห์+ RBV
G4
12 สัปดาห์

24 สัปดาห์ 12 สัปดาห์+ RBV

24 สัปดาห์ 12 สัปดาห์+ RBV
24 สัปดาห์ 12 สัปดาห์+ RBV
G5/6
12 สัปดาห์

24 สัปดาห์ 12 สัปดาห์+ RBV


24 สัปดาห์ 12 สัปดาห์+ RBV

คำย่อ. G, genotype; DCV, daclatasvir; LDV, ledipasvir; Peg, pegylated interferon; SOF, sofosbuvir; SMP, simeprevir; RBV, ribavirin. AbbVie’s สูตรยาประกอบด้วย paritaprevir, ritonavir, ombitasvir และ dasabuvir

หมายเหตุ: สูตรยาที่มีpegylated interferon และ/หรือ ribavirin ให้บริหารยาดังนี้ 
๐ กรณีที่รักษาด้วย pegylated interferon alfa-2a ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังขนาด 180 ไมโครกรัมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ribavirin รับประทานขนาดวันละ
 - 1,000 มิลลิกรัม สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 75 กิโลกรัม 
- 1,200 มิลลิกรัม สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตั้งแต่75 กิโลกรัมขึ้นไป
 ๐ กรณีที่รักษาด้วย pegylated interferon alfa-2b ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง ขนาด 1 ถึง 1.5 ไมโครกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ribavirin รับประทานขนาดวันละ
 - 800 มิลลิกรัม สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 65 กิโลกรัม 
- 1,000 มิลลิกรัม สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตั้งแต่65 กิโลกรัมถึง 85 กิโลกรัม 
- 1,200มิลลิกรัมสำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากกว่า85กิโลกรัมถึง105กิโลกรัม 
- 1,400 มิลลิกรัม สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตั้งแต่105 กิโลกรัมขึ้นไป 
๐ กรณีที่รักษาด้วย ribavirin โดยไม่มีpegylated interferon ร่วมด้วย ให้ขนาดยาเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ใช้ribavirin ร่วมกับ pegylated interferon alfa-2a


ข้อห้ามของการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ด้วยยา interferon และ ribavirin
- ผู้ป่วยตับแข็งที่เป็นมากแล้ว (decompensated cirrhosis) 
- มีประวัติแพ้ยา interferon และ / หรือ ribavirin 
- ภาวะซึมเศร้ารุนแรงที่ยังควบคุมไม่ได้ 
- ตั้งครรภ์หรือไม่เต็มใจที่จะยินยอมในการคุมกำเนิด 
- ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ ยกเว้นการผ่าตัดเปลี่ยนตับ 
- มีโรคที่เป็นข้อห้ามต่อการใช้ยา interferon 
- มีโรคร่วมต่างๆที่ยังรักษาควบคุมโรคได้ไม่ดีเช่น ความดันโลหิตสูงเบาหวาน โรค หัวใจและหลอดเลือด ถุงลมโป่งพอง และโรคธัยรอยด์เป็นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภัยเงียบที่คุกคามคนไทย ไวรัสตับอักเสบซี

Sofosbuvir+ Velpatasvir ขายยารักษาไวรัสตับอักเสบซี

กลุ่มเสี่ยงต่อไวรัสตับอักเสบซี และอาการที่สังเกตได้